วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2556

บทที่ 5 อินเตอร์เน็ต

ความหมายของโครงสร้างพื้นฐานและการเข้าถึงอินเตอร์เน็ต

       
  โครงสร้างพื้นฐานของอินเทอร์เน็ต ประกอบด้วยเครือข่ายระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาคระดับชาติ และระดับนานาชาติที่เชื่อมโยงเข้าด้วยกัน ดังรูป อินเทอร์เน็ตเชื่อมโยงข้อมูลจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์หนึ่งไปยังเครือข่ายอื่นด้วยความเร็วและคุณภาพที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับรูปแบบการสื่อสาร และสื่อที่ใช้ในการเชื่อมโยงเครือข่าย เช่น สายโทรศัพท์ สายไฟเบอรืออพติกและคลื่นวิทยุ
   ถึงแม้ในปัจจุบันพื้นที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อินเทอร์เน็ตก็ยังเป็นเครือข่ายสาธารณะที่ไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของ หน่วยงานทั้งของรัฐและเอกชนมีหน้าที่ในการดูแล และจัดการจราจรข้อมูลบนอินเทอรืเน้ตในเฉพาะเครือข่ายที่รับผิดชอบ

        การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้ที่เป็นคนทำงาน นักเรียน หรือนักศึกษา มักจะเข้าถึงอินเทอร์เน็ตผ่านเครือข่ายของหน่วยงาน โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย ซึ้งเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน้ตความเร็วสูง ขณะที่ผู้ใช้ทั่วไปอาจใช้วิธีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตโดยใช้โมเด็มผ่านสายโทรศัพท์ซึ่งเป็นอินเทอร์เน็ตความเร็วต่ำ หรืออาจเชื่อมต่อผ่านบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ต (broadband Internet connection) เช่น เอดีเอสแอล (Asymmetric Digital Subscriber Line: ADSL) เคเบิลโมเด็มที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายเคเบิลทีวี หรือเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย เช่น ไวไฟ หรืออินเทอรืเน็ตผ่านดาวเทียม
    สถานที่สาธารณะหลายแห่ง เช่น โรงเรียน มหาวิทยาลัย สนามบิน ห้างสรรพสินค้า โรงแรม มักจะมีบริการอินเทอรืเน็ตทั้งแบบมีสายและไร้สาย เพื่อให้ผู้ใช้อุปกรณ์แบบพกพาสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตไดโดยสะดวก ดังรูป



ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต หรือไอเอสพี (Internet Service Provider: ISP)  ให้บริการการเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตสำหรับผู้ใช้ โดยอาจคิดค่าบริการเป็นรายเดือน บริษัทที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย  เช่น ทีโอที ซีเอส ล็อกซ์อินโฟ กสท ฆทรคมนาคม ทีทีแอนด์ที และสามารถเทลคอม นอกจากนี้ไอเอสพียังให้บริการเสริมอื่นๆ เช่น อีเมล เว็บเพจ พื้นที่จัดเก็บข้อมูลหรือโทรศัพท์ระหว่างประเทศ ตัวอย่างการเข้าสู่บริการอินเทอร์เน็ตโดยผ่านผู้ให้บริการ

ความหมายเวิลด์ไวด์เว็บ เว็บเบราว์เซอร์และการค้นหาเว็บ




 เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web) หรือเรียกสั้นๆ ว่าเว็บ เป็นการให้บริการข้อมูลแบบไฮเปอร์เท็กซ์(hypertext) ที่ประกอบไปด้วยเอกสารจานวนมากที่มีการเชื่อมโยงกัน ซึ่งเป็นแหล่งของข้อมูลขนาดใหญ่ที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสามารถเข้าถึงผ่านโพรโทคอลที่เรียกว่า เอชทีทีพี (Hypertext Transfer Protocol: HTTP)นอกจากนี้เวิลด์ไวด์เว็บคอนซอร์เทียม ได้นิยามคาว่า เว็บ คือ จักรวาลของสารสนเทศที่สามารถเข้าถึงได้ผ่านเครือข่ายและทาให้เกิดองค์ความรู้แก่มนุษยชาติ สาหรับคาที่เกี่ยวข้องกับเวิลด์ไวด์เว็บที่ควรทราบ เช่น
โฮมเพจ (Homepage) คือ คาที่ใช้เรียกหน้าแรกของเว็บไซต์ โดยเป็นทางเข้าหลักของเว็บไซต์ เมื่อเปิดเว็บไซต์นั้นขึ้นมา โฮมเพจ ก็จะเปรียบเสมือนกับเป็นสารบัญและคานาที่เจ้าของเว็บไซต์นั้นได้สร้างขึ้น เพื่อใช้ประชาสัมพันธ์องค์กรของตน นอกจากนี้ ภายในโฮมเพจก็อาจมีเอกสารหรือข้อความที่เชื่อมโยงต่อไปยังเว็บเพจอื่นๆอีก ด้วย
เว็บเพจ (Webpage) เป็นหน้าเอกสารที่เขียนขึ้นในรูปแบบภาษาเอชทีเอ็มแอล (Hypertex Markup Language: HTML) ซึ่งสามารถเชื่อมโยงไปยังเอกสารหน้าอื่นได้ โดยเรียกดูผ่านเว็บเบราว์เซอร์
เว็บไซต์ (Website) เป็นกลุ่มของเว็บเพจที่มีความเกี่ยวข้องกัน และอยู่ภายใต้ชื่อโดเมนเดียวกัน
เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Webserver ) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการเว็บเพ็จ เมื่อผู้ใช้ร้องขอเว็บเพจผ่านเว็บเบราว์เซอร์ โดยใช้ยูอาร์แอล (uniform Resource Location: URL) ระบุตาแหน่งของเว็บเพจ เว็บเซิร์ฟเวอร์จะส่งเว็บเพจที่ค้นหาได้กลับไปแสดงผลผ่านเว็บเบราว์เซอร์ของผู้ใช้
เว็บโฮสติง (Web Hosting) เป็นการให้บริการพื้นที่สาหรับสร้าง และจัดเก็บเว็บไซต์ของหน่วยงาน หรือบุคคลทั่วไป เพื่อให้บุคคลอื่นเข้าถึงได้ผ่านอินเทอร์เน็ต
1. การเรียกดูเว็บ เว็บเบราว์เซอร์ (Web browser)
เป็นโปรแกรมใช้สาหรับการแสดงเว็บเพจ และสามารถเชื่อมโยงไปยังส่วนอื่นในเว็บเพจเดียวกันหรือเว็บเพจอื่นผ่านการเชื่อมโยงหลายมิติ หรือไฮเปอร์ลิงค์ (hyperlink) เรียกสั้นๆว่า ลิงค์ (link)
เว็บเบราว์เซอร์ช่วยเพิ่มความน่าสนใจในการใช้งานอินเทอร์เน็ต นอกเหนือไปจากการสื่อสารหรือการแลกเปลี่ยนไฟล์ระหว่างเครือข่าย ตัวอย่างเว็บเบราว์เซอร์ เช่น Mozilla Firefox, Microsoft Internet Explorer, Apple Safali, Google Chrome และ Opera



รูปแสดงตัวอย่างเว็บเบราว์เซอร์

2. ที่อยู่เว็บ
ในการอ้างอิงตาแหน่งของแหล่งข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตที่ผู้ใช้ร้องขอ เช่น เว็บเพจ สามารถทาได้โดยการระบุยูอาร์แอล (Uniform Resource Location: URL) ซึ่งมีรูปแบบดังนี้



โพรโทคอล ใช้สาหรับระบุมาตรฐานที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านเว็บ เช่น เอชทีทีพี และเอฟทีพี (File Transfer Protocol: FTP ) ในกรณีของเอชทีทีพี ส่วนใหญ่แล้วผู้ใช้สามารถจะละส่วนของโพรโทคอลนี้ได้ เนื่องจากถ้าไม่ระบุโพรโทคอล เว็บเบราว์เซอร์จะเข้าใจว่าผู้ใช้มีความประสงค์จะใช้โพรโทคอล เอชทีทีพีเพื่อเข้าถึงเว็บเพจ
ชื่อโดเมน ใช้สาหรับระบุชื่อโดเมนของเว็บเซิร์ฟเวอร์ของผู้ให้บริการข้อมูล เช่น ชื่อโดเมนhttp://www.sksb.ac.th/
เส้นทางเข้าถึงไฟล์ (path) ใช้สาหรับระบุตาแหน่งของไฟล์จากเว็บเซิร์ฟเวอร์
ชื่อข้อมูล ชื่อไฟล์ที่ร้องขอ เช่น ไฟล์ไฮเปอร์เท็กซ์ ไฟล์รูปภาพ ไฟล์วีดีทัศน์ ไฟล์เสียง
         ในกรณีที่ยูอาร์แอลระบุเฉพาะชื่อโดเมนโดยไม่ระบุเส้นทางเข้าถึงไฟล์ และ / หรือชื่อไฟล์ มีความหมายว่าให้เข้าถึงหน้าหลัก หรือโฮมเพจ (homepage) ของเว็บเซิร์ฟเวอร์นั้น ซึ่งโดยทั่วไปเป็นการเข้าถึงชื่อไฟล์ที่กาหนดไว้ เช่น index.html, main.php และ default.asp 



3. การค้นหาผ่านเว็บ
โปรแกรมค้นหา หรือเสิร์ชเอนจิน (search engines)
ใช้สาหรับค้นหาเว็บเพจที่ต้องการ โดยระบุคาหลักหรือคาสาคัญ (keyword) เพื่อนาไปค้นในฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ซึ่งรวบรวมเว็บเพจต่างๆ ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นรายการเว็บเพจที่ประกอบด้วยคาหลักที่ระบุ ช่วยให้เราสามารถเข้าถึงข้อมูลทุกประเภท หลากหลายรูปแบบ เพื่อการศึกษาหรือเพื่อความบันเทิงได้อย่างรวดเร็ว
โปรแกรมการค้นหาสามารถให้บริการค้นหาข้อมูลตามประเภท หรือแหล่งของข้อมูล เช่น ค้นหาเฉพาะข้อมูลที่เป็นภาพ วีดีทัศน์ เสียง ข่าว แผนที่ หรือบล็อก โปรแกรมค้นหาแต่ละโปรแกรมอาจใช้วิธีแตกต่างกันในการจัดอันดับความเกี่ยวข้องของเว็บเพจกับคาหลักที่ระบุ โดยเว็บเพจที่มีความเกี่ยวข้องกับคาหลักมากที่สุดจะอยู่ในอันดับบนสุด ตัวอย่างโปรแกรมค้นหา เช่น Ask, AltaVista Bing, Excite, Google และ Yahoo






รูปตัวอย่าง แสดงการค้นหา
เมตาเสิร์ชเอนจิน (metasearch engine)
เป็นโปรแกรมค้นหาที่ไม่มีการรวบรวมเว็บเพจไว้เป็นฐานข้อมูลของตนเอง แต่ค้นหาจากฐานข้อมูลของโปรแกรมค้นหาอื่น ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถเลือกผลลัพธ์ที่ตรงกับความต้องการที่สุด จากโปรแกรมค้นหาหลายโปรแกรมได้ในเวลาอันรวดเร็ว โดยอาจแสดงผลลัพธ์รวมจากทุกโปรแกรมค้นหาไว้ในชุดเดียวกัน และตัดรายการผลลัพธ์ที่ซ้าซ้อนกันออกไป หรืออาจแสดงผลลัพธ์ของแต่ละโปรแกรมค้นหาแยกเป็นคนชุซึ่งอาจมีรายการที่ซ้าซ้อนกันปรากฏอยู่ตัวอย่างของเมตาเสิร์ชเอนจิน เช่น Dogpile, Mamma และ Vivisimo



 




ตัวดำเนินการในการค้นหา เพื่อให้การค้นหาข้อมูลด้วยโปรแกรมค้นหาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ใช้สามารถใช้ตัวดาเนินการในการค้นหา (search engine operators) ประกอบกับคาหลัก จะช่วยให้ได้ผลลัพธ์ในการค้นหาที่ดียิ่งขึ้น



ตาราง ตัวอย่างตัวดาเนินการในการค้นหา
หมายเหตุ : ตัวดาเนินการบางตัวอาจได้ผลลัพธ์ที่เหมือนกันในโปรแกรมค้นหาที่ต่างกัน


4. เว็บ 1.0 และเว็บ 2.0
เว็บ 1.0 (Web 1.0) เป็นเว็บในยุคแรกเริ่มที่มีลักษณะให้ข้อมูลแบบทางเดียว ผู้ใช้ทั่วไปเข้าถึงเว็บเพจในฐานะผู้บริโภคข้อมูลและสารสนเทศตามที่ผู้สร้างได้ให้รายละเอียดไว้เพียงอย่างเดียว ไม่ค่อยมีการปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัย และมีรูปแบบการใช้งานไม่หลากหลาย ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากข้อจากัดหลายประการ เช่น ความรู้ความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีระบบเครือข่าย ช่องทางในการเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ต เทคโนโลยีในการพัฒนาเว็บ อีกทั้งจานวนผู้สร้างเว็บมีอยู่เป็นจานวนน้อยกว่าเมื่อเทียบกับจานวนผู้เข้าถึงเว็บเพื่อบริโภคข้อมูลและสารสนเทศ
ต่อมามีการพัฒนาเทคโนโลยีที่สนับสนุนการใช้งานบนอินเทอร์เน็ต ทาให้ผู้ใช้ทั่วไปสามารถเป็นส่วนหนึ่งของผู้ให้ข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ที่ปรากฏบนเว็บเพจ เช่น การโพสต์ข้อความ รูปภาพ วีดิทัศน์ ความคิดเห็น การจัดอันดับ ด้วยความแตกต่างที่พบได้เหล่านี้ จึงได้มีการเรียกเว็บประเภทนี้ว่าเว็บ 2.0 (Web 2.0)
ลักษณะเด่นที่พบในเว็บ 2.0 ที่แตกต่างจากในเว็บ 1.0 เช่น มีการสร้างเครือข่ายทางสังคมผ่านเว็บไซต์ มีการพัฒนาความร่วมมือแบบออนไลน์ มีการแบ่งปันข้อมูลและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้ใช้ผ่านอินเทอร์เน็ต รวมถึงมีการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์แบบพกพาเพิ่มมากขึ้น
เว็บ 3.0 (Web 3.0)
นเวิลด์ไวด์เว็บ ได้ให้แนวคิดของเว็บรุ่นที่สามหรือเว็บ 3.0 ว่าเป็นการสร้างเว็บเพจที่สามารถให้คอมพิวเตอร์นาไปใช้ประมวลผลได้อย่างเป็นระบบเดียวกัน ทาให้การค้นหาข้อมูลง่ายขึ้น และการจัดการความรู้ (knowledge management) เป็นจริงมากขึ้นต่างจากเว็บเพจในปัจจุบันที่คอมพิวเตอร์ไม่สามารถประมวลผล หรือค้นหาข้อมูลมาตอบคาถามได้ตรงๆ ต้องสร้างซอฟต์แวร์เฉพาะกิจไปจัดการ แบบต่างคนต่างคิด ต่างทาตามแนวคิดของตน ไม่เป็นระบบเดียวกัน ทั้งนี้W3C ซึ่งเป็นองค์กรหลักระดับโลกที่ดาเนินงานด้านเทคโนโลยีเวิลด์ไวด์เว็บ ได้นาเสนอให้ใช้อาร์ดีเอฟ(Resource Description Framework: RDF) มาติดตั้งโดยใช้เทคโนโลยีเอ็กซ์เอ็มแอล(Extensible Markup Language: XML) ทาให้โครงสร้างของเว็บเพจเปลี่ยนไปจากเว็บรุ่นที่ 2.0 ใน
          ปัจจุบันที่ใช้เอชทีเอ็มแอล (Hypertext Markup Language: HTML) เป็นพื้นฐาน มาเป็นเอ็กซ์เอ็มแอล และอาร์ดีเอฟ ทาให้สามารถสร้างซอฟต์แวร์ประมวลผลเชิงความหมายอย่างมีระบบ และอยู่บนมาตรฐานเดียวกัน ในท้ายที่สุดเว็บ 3.0 จะมีลักษณะเป็นเว็บเชิงความหมาย (semantic web) ที่สามารถวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้ และเสนอทางเลือกที่เป็นไปได้โดยให้ผู้ใช้เลือกแทนการค้นหาข้อมูลจากคาหลักอย่างตรงไปตรงมา




ลักษณะของโปรแกรมที่ไม่พึ่งประสงค์
          โปรแกรมไม่พึงประสงค์ เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เขียนขึ้นเพื่อสร้างความรำคาญให้กับผู้ใช้งาน โดยอาศัยการเจาะผ่านช่องโหว่ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรืออินเทอร์เน็ตที่ไม่มีการป้องกันที่ดีพอ  เข้าไปกีดขวางการทำงานของระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ช้าลง และอาจร้ายแรงถึงขั้นทำลายระบบคอมพิวเตอร์ให้เสียหายทั้งระบบได้ !!


ไวรัส  เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เขียนขึ้นเพื่อสร้างความรำคาญให้กับผู้ใช้งานและอาจร้ายแรงถึงขั้นทำลายระบบคอมพิวเตอร์ให้เสียหายทั้งระบบ โดยจะทำการแนบโปรแกรมแปลกปลอมเข้าไปกับโปรแกรมอื่นๆ ได้ โดยผ่านสื่อบันทึกข้อมูล
เวิร์ม  เป็นโปรแกรมแปลกปลอมที่สามารถคัดลอกตัวเองแล้วส่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆได้ทันที โดยอาศัยการเจาะผ่านช่องโหว่ของเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์ หรืออินเทอร์เน็ตที่ไม่มีการป้องกันที่ดีพอ โดยจะเข้าไปกีดขวางการทำงานของระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์ช้าลง
 แอดเเวร์   เป็นโปรแกรมแอบแฝงที่เมื่อโปรแกรมได้รับการดาวน์โหลดหรือมีการติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์เรียบร้อยแล้ว จะแสดงหน้าต่างป๊อปอัพ ที่มีการโฆษาสินค้าออกมาเป็นระยะๆ โดยอัตโนมัติ
 ม้าโทรจัน เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกบรรจุเข้าไปในคอมพิวเตอร์เพื่อลอบเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น เช่น ข้อมูลชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน เลขที่บัญชีธนาคาร หมายเลขบัตรเครดิต และข้อมูลส่วนบุคคลอื่น ๆ โดยส่วนใหญ่แฮกเกอร์จะส่งโปรแกรมเข้าไปในคอมพิวเตอร์เพื่อดักจับข้อมูลดังกล่าว แล้วนำไปใช้ในการเจาะระบบ และเพื่อโจมตีคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์หรือระบบเครือค่ายอีกที ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อการโจมตีเพื่อ ปฏิเสธการให้บริการ” (Denial of Services)
โปรแกรมม้าโทรจัน ถือเป็นโปรแกรมที่สอดคล้องกับการทำงานของคอมพิวเตอร์ ไม่มีคำสั่งหรือการปฏิบัติการที่เป็นอันตรายต่อตัวคอมพิวเตอร์ จึงไม่ถือว่าเป็นไวรัสคอมพิวเตอร์




ขอขอบคุณ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น