วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2556

บทที่ 2 ฮาร์ดแวร์

บทที่ 2 ฮาร์ดแวร์

ความหมายของคอมพิวเตอร์และฮาร์ดแวร์

 คอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ (อังกฤษ: computer) หรือในภาษาไทยว่า คณิตกรณ์  เป็นเครื่องจักรแบบ สั่งการได้ที่ออกแบบมาเพื่อดำเนินการกับลำดับตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์หรือ คณิตศาสตร์ โดยอนุกรมนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้เมื่อพร้อม ส่งผลให้คอมพิวเตอร์สามารถแก้ปัญหาได้มากมาย
คอมพิวเตอร์ถูกประดิษฐ์ออกมาให้ประกอบไปด้วยความจำรูป แบบต่าง ๆ เพื่อเก็บข้อมูล อย่างน้อยหนึ่งส่วนที่มีหน้าที่ดำเนินการคำนวณเกี่ยวกับตัวดำเนินการทาง ตรรกศาสตร์ และตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ และส่วนควบคุมที่ใช้เปลี่ยนแปลงลำดับของตัวดำเนินการโดยยึดสารสนเทศที่ถูกเก็บไว้เป็นหลัก อุปกรณ์เหล่านี้จะยอมให้นำเข้าข้อมูลจากแหล่งภายนอก และส่งผลจากการคำนวณตัวดำเนินการออกไป
หน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์มีหน้าที่ดำเนินการกับคำสั่งต่างๆ ที่คอยสั่งให้อ่าน ประมวล และเก็บข้อมูลไว้ คำสั่งต่างๆ ที่มีเงื่อนไขจะแปลงชุดคำสั่งให้ระบบและสิ่งแวดล้อมรอบๆ เป็นฟังก์ชันที่สถานะปัจจุบัน
คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรกถูกพัฒนาขึ้นในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษ ที่ 20 (ค.ศ. 1940 – ค.ศ. 1945) แรกเริ่มนั้น คอมพิวเตอร์มีขนาดเท่ากับห้องขนาดใหญ่ ซึ่งใช้พลังงานมากเท่ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (พีซี) สมัยใหม่หลายร้อยเครื่องรวมกัน
คอมพิวเตอร์ในสมัยใหม่นี้ผลิตขึ้นโดยใช้วงจรรวม หรือวงจรไอซี (Integrated circuit)โดยมีความจุมากกว่าสมัยก่อนล้านถึงพันล้านเท่า และขนาดของตัวเครื่องใช้พื้นที่เพียงเศษส่วนเล็กน้อยเท่านั้น คอมพิวเตอร์อย่างง่ายมีขนาดเล็กพอที่จะถูกบรรจุไว้ในอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือ และคอมพิวเตอร์มือถือนี้ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ขนาดเล็ก และหากจะมีคนพูดถึงคำว่า "คอมพิวเตอร์" มักจะหมายถึงคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ของยุคสารสนเทศ อย่างไรก็ดี ยังมีคอมพิวเตอร์ชนิดฝังอีกมากมายที่พบได้ตั้งแต่ในเครื่องเล่นเอ็มพีสามจนถึงเครื่องบินขับไล่ และของเล่นชนิดต่างๆ จนถึงหุ่นยนต์อุตสาหกรรม

ฮาร์ดแวร์ 

ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะทำหน้าที่แตกต่างกันไปตามคุณลักษณะของ องค์ประกอบพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ ดังนี้

1) หน่วยรับเข้า  ทำหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูล เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยอาจส่งผ่านอุปกรณ์ รับเข้าข้อมูลโดยตรง เช่น เมาส์ แผงแป้นอักขระปากกาแสงก้านควบคุม ฯลฯ หรือส่งผ่านอุปกรณ์ รับเข้าข้อมูลทางอ้อม เช่น เครื่องขับแผ่นบันทึก เครื่องขับเทปแม่เหล็ก เป็นต้น

2) หน่วยประมวลผลกลาง หรือ ไมโครโพรเซสเซอร์ ของไมโครคอมพิวเตอร์ มีหน้าที่นำคำสั่งและข้อมูล เก็บไว้ในหน่วยความจำมาแปลความหมาย และ กระทำตามคำสั่งพื้นฐานของไมโครโพรเซสเซอร์ ซึ่งแทนได้ด้วยรหัสเลขฐานสอง ซึ่งประกอบด้วย หน่วยควบคุม หน่วยคำนวณและหน่วยตรรกะ

3) หน่วยส่งออก หรือหน่วยแสดงผล ซึ่งประกอบด้วย จอภาพ (Monitor) ลำโพง (Speaker) และเครื่องพิมพ์ (Printer)


องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ 

ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
    โดยหลักการแล้ว ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ ประกอบไปด้วยอุปกรณ์ที่ทำงานตามหน้าที่ ส่วนด้วยกัน คือ

    1.) ส่วนรับข้อมูล (Input Unit)
    2.) ส่วนประมวลผลข้อมูล (Central Processing Unit)
    3.) ส่วนแสดงผล (Output Unit)
    4.) หน่วยความจำ (Memory Unit)
1.) ส่วนรับข้อมูล (Input Unit)
    ส่วนรับข้อมูล (Input Unit) เป็น ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลจากคน และส่งต่อข้อมูลไปยัง หน่วยประมวลผล(Process Unit) เพื่อทำการประมวลผลต่อไป รูปแบบการส่งข้อมูลจากอุปกรณ์รับข้อมูลจะอยู่ในรูปของการส่งสัญญาณเป็นรหัส ดิจิตอล (หรือเป็นเลข กับ 1) นั่นเอง อุปกรณ์ส่วนรับข้อมูล ได้แก่

    - คีย์บอร์ด (keyboard)


    - เมาส์ (mouse)


    - สแกนเนอร์ (scanner)


    - อุปกรณ์สแกนลายนิ้วมือ (finger scan)


    - ไมโครโฟน(microphone)


  
อุปกรณ์ใน ส่วนรับข้อมูล ยังมีอีกมากมายและสามารถจะยังมีเพิ่มตามขึ้นไปเรื่อยๆ ตามการพัฒนาด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
2.) ส่วนประมวลผลข้อมูล (Central Processing Unit)
    ส่วนประมวลผลข้อมูล (Central Processing Unit) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลที่รับมาจาก ส่วนรับข้อมูล(Input Unit) เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ อีกทั้งยังทำหน้าที่ในการควบคุมการทำงานต่างๆ ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์

3.) หน่วยแสดงผล (Output Unit)
    หน่วยแสดงผล (Output Unit) เป็นหน่วยที่แสดงผลลัพธ์ที่มาจากการประมวลผลข้อมูล ของส่วนประมวลผลข้อมูล โดยปกติรูปแบบของการแสดงผล มีอยู่ แบบ ด้วยกันคือ แบบที่สามารถเก็บไว้ดูภายหลังได้ และแบบที่ไม่มีสำเนาเก็บไว้ 
แบบที่สามารถเก็บไว้ดูภายหลังได้ เช่น เครื่องพิมพ์ (Printer) และ เครื่องวาด (Plotter)

แบบที่ไม่มีสำเนาเก็บไว้ เช่น จอภาพ(Monitor) , เครื่องฉายภาพ(LCD Projector) และ ลำโพง (Speaker)


4.) หน่วยความจำ (Memory Unit)
    หน่วยความจำ (Memory Unit) อุปกรณ์เก็บสถานะข้อมูลและชุดคำสั่ง เพื่อการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ แบ่งได้เป็น ประเภทใหญ่ ๆ คือ หน่วยความจำชั่วคราวและหน่วยความจำถาวร
หน่วยความจำชั่วคราว คือ แรม (RAM: Random Access Memory)เป็นหน่วยความจำที่ใช้ขณะคอมพิวเตอร์ทำงาน ข้อมูลและชุดคำสั่งจะหายไปทุกครั้งที่เราปิดเครื่อง
หน่วยความจำถาวรหรือ หน่วยความจำหลัก ได้แก่ ฮาร์ดดิสก์ Hard Disk ที่ใช้ในการเก็บข้อมูล และ รอม (ROM: Read Only Memory) ที่ใช้ในการเก็บค่าไบออส หน่วยความจำถาวรจะใช้ในการเก็บข้อมูลของเครื่องคอมพิวเตอร์และจะไม่สูญหาย เมื่อปิดเครื่อง


 หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์

 

หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ หมายถึง  เครื่องคำนวณ  อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถทำงานคำนวณผลและเปรียบเทียบค่าตามชุดคำสั่งด้วย ความเร็วสูงอย่างต่อเนื่องและอัตโนมัติ  พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ได้ให้คำจำกัดความของคอมพิวเตอร์ไว้ค่อนข้างกะทัดรัดว่า  เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เสมือนสมองกล  ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ ทั้งที่ง่ายและซับซ้อน โดยวิธีทางคณิตศาสตร์
        หรืออาจกล่าวได้ว่า เครื่องคอมพิวเตอร์หมายถึง  เครื่องมือที่ช่วยในการคำนวณและการประมวลผลข้อมูล  จากคุณสมบัตินี้ของเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งไม่ใช่เครื่องคิดเลข  เครื่องคอมพิวเตอร์จึงประกอบด้วยคุณสมบัติ ประการคือ
1. ความเร็ว  (SPEED)  เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ด้วยความเร็วสูงมาก  ซึ่งหน่วยความเร็วของการทำงานของคอมพิวเตอร์วัดเป็น
    - มิลลิเซกัน (MILLISECOND)      ซึ่งเปรียบเทียบความเร็วเท่ากับ 1/1000 วินาที
    - ไมโครเซกัน (MICROSECOND) ซึ่งเทียบความเร็วเท่ากับ 1/1,000,000 วินาที
    - นาโนเซกัน (NANOSECOND)    ซึ่งเปรียบเทียบความเร็วเท่ากับ 1/1,000,000,000 วินาที
ความเร็วที่ต่างกันนี้ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์แต่ละยุค  ซึ่งได้มีการพัฒนาให้เครื่องคอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ประมวลข้อมูล ได้เร็วในเวลาไม่เกิน วินาที  จะทำให้คอมพิวเตอร์มีบทบาทในการนำมาเป็นเครื่องมือใช้งานอย่างดียิ่ง
2. หน่วยความจำ (MEMORY)  เครื่องคอมพิวเตอร์ประกอบไปด้วยความจำ  ซึ่งสามารถใช้บันทึกและเก็บ
ข้อมูลได้คราวละมากๆ และสามารถเก็บคำสั่ง (INSTRUCTIONS) ต่อๆกันได้ที่เราเรียกว่าโปรแกรม แลนำมาประมวลในคราวเดียวกัน ซึ่งเป็นปัจจัยทำให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานเก็บข้อมูลได้ครั้งละมากๆ เช่น    การสำรวจสำมะโนประชากร  หรือรายงานผลการเลือกตั้งซึ่งทำให้มีการประมวลได้รวดเร็วและถูกต้อง   จากการที่หน่วยความจำสามารถบันทึกโปรแกรมและข้อมูลไว้ในเครื่องได้  ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์มีคุณสมบัติพิเศษ  คือสามารถทำงานได้อย่างอัตโนมัติ   ในกรณีที่มีงานที่ต้องทำซ้ำๆหรือบ่อยครั้งถ้าใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยในการทำ งานเหล่านั้นก็จะทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงซึ่งจะได้ทั้งความรวดเร็ว  ถูกต้องแม่นยำและประหยัดเนื่องจากการเขียนคำสั่งเพียงครั้งเดียวสามารถทำ งานซ้ำๆได้คราวละจำนวนมากๆ 
3. ความสามารถในการเปรียบเทียบ (LOGICAL)  ในเครื่อง คอมพิวเตอร์ประกอบไปด้วยหน่วยคำนวณและตรรกะซึ่งนอกจากจะสามารถในการคำนวณ แล้วยังสามารถใช้ในการเปรียบเทียบซึ่งความสามารถนี้เองที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ต่างกับเครื่องคิดเลข และคุณสมบัตินี้ทีทำให้นักคอมพิวเตอร์ สร้างโปรแกรมอัตโนมัติขึ้นใช้อย่างกว้างขวาง เช่นการจัดเรียงข้อมูลจำเป็น ต้องใช้วิธีการเปรียบเทียบ การทำงานซ้ำๆตามเงื่อนไขที่กำหนด หรือการใช้คอมพิวเตอร์ในกิจการต่างๆซึ่งเกิดขึ้นมากมายในปัจจุบัน และการใช้แรงงานจาก คอมพิวเตอร์แทนแรงงานจากมนุษย์ทำให้รวดเร็วถูกต้อง สะดวกและแม่นยำ เป็นการ ผ่อนแรงมนุษย์ได้เป็นอย่างมาก

ฮาร์ดแวร์ภายในคอมพิวเตอร์

ดิสก์เก็ต
ดิสก์เก็ตเป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ร่วมกับเครื่องอ่าน/บันทึกดิสก์หรือที่เรียกว่าดิสก์ไดร์ฟ ในปัจจุบันใช้ดิสก์ขนาด 3.5 นิ้ว ที่มีความจุ 1.44 เมกกะไบต์เป็นมาตรฐาน
ฮาร์ดดิสก์
ฮาร์ดดิสก์เป็นอุปกรณ์จัดเก็บอุปกรณ์ที่นิยมใช้ และจำเป็นต้องมีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ภายในฮาร์ดดิสก์จัมีกลไกของหัวอ่านและหัวบันทึกข้อมูลอยู่ในตัว ทำให้สามารถนำฮาร์ดดิสก์มาใช้งานได้ทันที
เทปไดร์ฟ
สำหรับเทปบันทึกข้อมูลในที่นี้หมายถึงเทป DAT (DIGITAL AUDIO TAPE) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่สามารถเก็บข้อมูลในปริมาณมาก
เครื่องอ่านซีดี/ซีดีรอม
โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ในปัจจุบันมักจะเขียนลงฝยแผ่นซีดี เนื่องจากสะดวก กว่าการจัดเก็บลงในดิสก์เก็ต กล่าวคือ ซีดีรอมสามารถเก็บข้อมูลได้สูงถึง 650 เมกกะไบต์หากเก็บในแผ่นดิสก์ก็จะส่งผลให้มีจำนวนดิสก์มากมายไม่สะดวก อีกทั้งอายึการ ใช้งานของซีดียาวนานกว่าอีกด้วย
เครื่องบันทึกซีดี (CD-RW/CD-R)
สำหรับแผ่นซีดีที่นำมาบันทึกนั้นเรียกว่า CD-R แผ่น CD-R สามารถบันทึกได้หลายครั้ง และอ่านได้หลาครั้ง ส่วนแผ่นCD-ROM นั้นจะบันทึกได้เพียงครั้งเดียวและอ่านได้หลายครั้ง นอกจากเครื่องบันทึกซีดีสามารถบันทึก ข้อมูลลงแผ่นCD-R แล้ว ยังสามารถทำการอ่านข้อมูลจากแผ่น CD-ROM และ CD-R ทั่วไปได้
เครื่องอ่านดีวีดี/ดีวีดีรอม

แผ่นดีวีดีมีข้อดีตรงที่มีความจุสูงกว่าแผ่นซีดี โดยเฉพาะแผ่นซีดีที่บันทึกภาพยนต์ หรือที่เรียกว่า VIDEO CD นั้น จะมีภาพและเสียงที่ด้อยกว่าภาพยนตร์ที่บันทึกด้วยแผ่นดีวีดี แผ่น VCD ภาพยนตร์หนึ่งเรื่องอาจมีจำนวน หลายแผ่นด้วยกัน ในขณะที่แผ่น DVD อาจมีเพียงแผ่นเดียวหรือไม่กี่แผ่น

ประเภทของคอมพิวเตอร์

แบ่งตามลักษณะของข้อมูล ได้ ประเภท คือ
1. อนาลอกคอมพิวเตอร์ (ANALOG COMPUTER) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นเป็นพิเศษ เพื่อใช้กับงานเฉพาะด้าน มีการทำงานโดยใช้หลักในการวัด มีลักษณะเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่แยกส่วนทำหน้าที่เป็นตัวกระทำและฟังก์ชัน ทางคณิตศาสตร์ โดยใช้ค่าระดับแรงดันไฟฟ้าเป็นหลักในการคำนวณ และการรับข้อมูลจะรับในลักษณะของปริมาณที่มีค่าต่อเนื่อง ส่วนการรับข้อมูลสามารถรับข้อมูลได้โดยตรงจากแหล่งเกิดข้อมูล แล้วแสดงผลออกมาทางจอภาพ หรืออ่านค่าได้จากเครื่องวัดและแทนค่าเป็นอุณหภูมิ ความเร็ว หรือความดัน มีความละเอียดและสามารถคำนวณได้น้อยกว่าดิจิทัลคอมพิวเตอร์ ไม่สามารถเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมากเหมือนกับดิจิทัลคอมพิวเตอร์ ได้แก่ เครื่องที่ใช้วัดปริมาณทางฟิสิกส์ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จะออกมาในรูปของกราฟ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตรวจสภาพอากาศ และที่ใช้ในวงการแพทย์ เช่น เครื่องตรวจวัดสายตา ตรวจวัดคลื่นสมองและการเต้นของหัวใจ เป็นต้น
2. ดิจิทัลคอมพิวเตอร์ (DIGITAL COMPUTER) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำงานโดยใช้หลักในการคำนวณแบบลูกคิด หรือหลักการนับ และทำงานกับข้อมูลแบบไม่ต่อเนื่อง ลักษณะการคำนวณจะแปลงเลขเลขฐานสิบก่อน แล้วจึงประมวลผลด้วยระบบเลขฐานสอง แล้วให้ผลลัพธ์ออกมาอยู่ในรูปของตัวเลข ซึ่งคอมพิวเตอร์จะแปลงเป็นเลขฐานสิบเพื่อแสดงให้ผู้ใช้เข้าใจง่าย มีความสามารถในการคำนวณและมีความแม่นยำมากกว่าอนาลอกคอมพิวเตอร์ สามารถเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมากจึงต้องใช้สื่อในการบันทึกข้อมูล เช่น จานแม่เหล็ก และเทปแม่เหล็ก เป็นต้น เนื่องจากดิจิทัลคอมพิวเตอร์มีอุปกรณ์ชิ้นส่วนต่าง ๆ เป็นมาตรฐานเดียวกันและใช้กับงานได้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ทำให้ดิจิทัลคอมพิวเตอร์มีการพัฒนาให้สามารถทำงานได้เหมาะสมกับสภาพงานทั่ว ไป เช่น งานพิมพ์เอกสาร งานคำนวณ งานวิจัยเปรียบเทียบค่าทางสถิติ งานบันทึกนัดหมาย งานส่งข้อความในรูปเอกสาร ภาพและเสียง ตลอดจนงานกราฟิกเพื่อนำเสนอในรูปแบบต่าง ๆ เป็นต้น
3. ไฮบริดคอมพิวเตอร์ (HYBRID COMPUTER) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้กับงานเฉพาะด้าน มีประสิทธิภาพสูงและสามารถทำงานที่ซับซ้อนได้ เนื่องจากการนำเทคนิคการทำงานของอนาลอกคอมพิวเตอร์และดิจิทัลคอมพิวเตอร์มา ใช้งานร่วมกัน เช่น การส่งยานอวกาศขององค์การนาซา จะใช้เทคนิคของอนาลอกคอมพิวเตอร์ในการควบคุมการหมุนของตัวยานอวกาศ ซึ่งเกี่ยวข้องกับความกดดันอากาศ อุณหภูมิ ความเร็ว และใช้เทคนิคของดิจิทัลคอมพิวเตอร์ในการคำนวณระยะทางจากพื้นผิวโลก เป็นต้น
ประเภทของคอมพิวเตอร์แบ่งตามสมรรถนะ ขนาดและราคา ได้ ประเภท คือ
1. ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (SUPERCOMPUTER) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด รุ่นแรก สร้างในปี ค.ศ. 1960 ที่องค์การทหารของสหรัฐอเมริกา สร้างสามารถประมวลผลได้กว่า 100 ล้านคำสั่งต่อวินาที จึงทำให้ทำงานได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูง มีราคาแพงที่สุด เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เหมาะกับงานคำนวณที่ต้องคำนวณตัวเลขจำนวนมหาศาล ให้เสร็จภายในระยะเวลาอันสั้น โดยต้องอยู่ในห้องที่มีการควบคุมอุณหภูมิและปราศจากฝุ่นละออง มักใช้กับองค์กรที่มีขนาดใหญ่เท่านั้น เนื่องจากสามารถรองรับการใช้งานของผู้ใช้จำนวนมากพร้อม ๆ กันได้ เรียกว่า มัลติโปรเซสซิ่ง (MULTIPROCESSING) อันเป็นการใช้หน่วยประมวลผลหลายตัว เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานหลายงานพร้อม ๆ กันได้ จึงนิยมใช้กับงานที่การคำนวณที่ซับซ้อน เช่น การพยากรณ์อากาศ การทดสอบทางอวกาศ การคำนวณทางวิทยาศาสตร์ การบิน อุตสาหกรรมน้ำมัน ตลอดจนการวิจัยในห้องปฏิบัติการ ทั้งของภาครัฐบาลและเอกชน เป็นต้น ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่รู้จักกันดีในปัจจุบันได้แก่ CRAY SUPERCOMPUTER
2. เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (MAINFRAME COMPUTER) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่มีความเร็วในการประมวลผลสูงรองลงมาจาก ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ต้องอยู่ในห้องที่ควบคุมอุณหภูมิและปราศจากฝุ่นละออง และได้รับการพัฒนาให้มีหน่วยประมวลผลหลายหน่วยทำงานพร้อม ๆ กันเช่นเดียวกับซูเปอร์คอมพิวเตอร์ แต่มีจำนวนหน่วยประมวลผลที่น้อยกว่า จึงทำให้สามารถประมวลผลคำสั่งได้หลายสิบล้านคำสั่งต่อวินาที ระบบคอมพิวเตอร์ของเครื่องเมนเฟรมส่วนมากจะมีระบบคอมพิวเตอร์ย่อย ๆ ประกอบอยู่ด้วย เพื่อช่วยในการทำงานบางประเภทให้กับเครื่องหลัก มีราคาแพงมาก (แต่น้อยกว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์) เหมาะกับงานที่มีข้อมูลที่มีปริมาณมากต้องประมวลผลพร้อมกันโดยผู้ใช้นับพัน คน (MULTI-USER) ใช้กับองค์กรใหญ่ ๆ ทั่วไป เช่น งานด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิทยาศาสตร์ การควบคุมระบบเครือข่าย งานพัฒนาระบบ งานด้านธุรกิจ ธนาคาร งานสำมะโนประชากร งานสายการบิน งานประกันชีวิต และมหาวิทยาลัย เป็นต้น

3. มินิคอมพิวเตอร์ (MINICOMPUTER) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดกลางที่มีประสิทธิภาพในการทำงานน้อยกว่า เมนเฟรม แต่สูงกว่าไมโครคอมพิวเตอร์ สามารถรองรับการทำงานจากผู้ใช้หลายร้อยคน (MULTI-USER) ในการทำงานที่แตกต่างกัน (MULTI PROGRAMMING) เช่นเดียวกับเครื่องเมนเฟรม แต่สิ่งที่แตกต่างกันระหว่างเครื่องเมนเฟรมและเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ คือ ความเร็วในการทำงาน เนื่องจากมินิคอมพิวเตอร์ทำงานได้ช้ากว่า และควบคุมผู้ใช้งานต่าง ๆ ในจำนวนที่น้อยกว่า รวมทั้งสื่อที่เก็บข้อมูลมีความจุน้อยกว่าเมนเฟรม จึงเหมาะกับองค์กรขนาดกลาง เพราะมีราคาถูกกว่าเครื่องเมนเฟรมมาก ทำงานเฉพาะด้าน เช่น การคำนวณทางด้านวิศวกรรม การจองห้องพักของโรงแรม การทำงานด้านบัญชีขององค์การธุรกิจ เป็นต้น ในสถานศึกษาต่าง ๆ และบางหน่วยงานของรัฐนิยมใช้คอมพิวเตอร์ประเภทนี้
4. เวิร์คสเตชันคอมพิวเตอร์ (WORKSTATION COMPUTER) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ ที่สนับสนุนการทำงานของคอมพิวเตอร์เครือข่าย ซึ่งใช้ในการจัดสรรและใช้ทรัพยากรร่วมกัน เช่น แฟ้มข้อมูลโปรแกรมประยุกต์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เช่น เครื่องพิมพ์และอุปกรณ์อื่น ๆ โดยการเชื่อมโยงกับเทอร์มินัล (TERMINAL) หลาย ๆ เครื่อง อีกทั้งได้ถูกออกแบบมาให้มีความสามารถในการคำนวณด้านวิศวกรรม สถาปัตยกรรม หรืองานอื่น ๆ ที่เน้นการแสดงผลด้านกราฟิก เช่น การนำมาช่วยออกแบบภาพกราฟิกที่มีความละเอียดสูง ทำให้เวิร์คสเตชันใช้หน่วยประมวลผลที่มีประสิทธิภาพสูงและมีหน่วยเก็บข้อมูล สำรองจำนวนมากด้วย ผู้ใช้บางกลุ่มจะเรียกเครื่องระดับเวิร์คสเตชันนี้ว่า ซูเปอร์ไมโคร (SUPERMICRO) เพราะถูกออกแบบให้ใช้งานแบบตั้งโต๊ะ แต่ชิปที่ใช้ทำงานนั้นแตกต่างกันมาก เนื่องจากเวิร์คสเตชันส่วนมากใช้ชิปที่ลดจำนวนคำสั่งที่สามารถใช้สั่งงานให้ เหลือเฉพาะที่จำเป็น เพื่อให้สามารถทำงานได้ด้วยความเร็วสูง
5. ไมโครคอมพิวเตอร์ (MICROCOMPUTER) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ราคาถูกสามารถเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PERSONAL COMPUTER หรือ PC) เราสามารถแบ่งคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ได้ดังนี้
คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (DESKTOP COMPUTER) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ราคาถูกสามารถเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PERSONAL COMPUTER หรือ PC) มีการพัฒนาขึ้นในปี ค.ศ. 1975ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอันมาก เมื่อ IBM ได้สร้างเครื่อง IBM PC ออกมา ซึ่งความแตกต่างระหว่างเวิร์คสเตชันคอมพิวเตอร์ และไมโครคอมพิวเตอร์ได้ลดน้อยลงเรื่อย ๆ เนื่องจากเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ระดับสูงในปัจจุบันมีประสิทธิภาพ และมีความเร็วในการแสดงผลที่ดีกว่าเวิร์คสเตชันคอมพิวเตอร์มาก สามารถใช้งานโดยใช้คนเดียว (STAND-ALONE) หรือเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายเพื่อติดต่อสื่อสารกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้ จากการที่เทคโนโลยีที่ก้าวนำสมัยทำให้ PC สามารถเชื่อมโยงเข้ากับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตติดต่อสื่อสารกับคนอื่นได้ ทั่วโลก เหมาะกับงานทั่วไป เช่น การประมวลผลคำ (WORD PROCESSING) การคำนวณ (SPREADSHEET) การบัญชี (ACCOUNTING) จัดทำสิ่งพิมพ์ (DESKTOP PUBLISHING) และงานที่เกี่ยวข้องกับฐานข้อมูล เป็นต้น เราสามารถแบ่งคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ได้ดังนี้
โน๊ตบุ๊คคอมพิวเตอร์ (NOTEBOOK COMPUTER) เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก มี น้ำหนักเบาประมาณ 2-4 กิโลกรัม และบางกว่าแบบตั้งโต๊ะ สามารถพกพาไปยังสถานที่ต่าง ๆ ได้สะดวก โดยมีหน้าจอและคีย์บอร์ดติดกัน ส่วนเม้าส์ (MOUSE) และลำโพงจะอยู่ติดกับตัวเครื่อง โดยสามารถหาอุปกรณ์ดังกล่าวติดตั้งภายนอกเพิ่มเติมก็ได้ มีเครื่องอ่านแผ่นดิสก์ (FLOPPY DISK DRIVE) และเครื่องอ่านแผ่นซีดีรอม (CD-ROM DRIVE) และพัฒนาให้มีขนาดเล็กกว่าเดิมสามารถวางบนตักได้

การหาข้อมูลและราคาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ 

WWW.ADVICE.CO.TH


เงื่อนไขในการเลือกซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์

     ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ถือเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยในการทำงานของหลายองค์กร ทั้งการพิมพ์เอกสาร จัดเก็บข้อมูล นำเสนอผลงาน รวมทั้งการออกแบบงานต่างๆ ซึ่งลักษณะของงานจะมีความแตกต่างกันออกไป เพื่อให้ได้ผลงานที่มีประสิทธิภาพ ตรงตามความต้องการของผู้ใช้และคุ้มค่ากับจำนวนเงินที่จ่ายไป ผู้ใช้ควรศึกษาถึงหลักการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึงและทำความเข้าใจอย่างละเอียดก่อนจะเลือกซื้อคอมพิวเตอร์มาใช้งาน ซึ่งอาจปฎิบัติตามแนวทาง ดังนี้
.๑ การสำรวจระดับการใช้งานคอมพิวเตอร์
สำหรับการสำรวจระดับการใช้งานคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสม จะทำให้ได้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีคุณลักษณะตรงกับความต้องการและเหมาะสมกับงานมากที่สุด ดังนั้นผู้ใช้จึงต้องรู้ระดับการใช้งานของตนเอง เพื่อสามารถกำหนดคุณลักษณะของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมได้ต่อไป การแบ่งระดับการใช้งานคอมพิวเตอร์นั้น อาจแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท แต่โดยส่วนใหญ่แล้วมักแบ่งตามประเภทของผู้ใช้ ซึ่งแบ่งได้ ดังนี้
ระดับผู้ใช้ทั่วไปและผู้ใช้มือใหม่ ผู้ใช้ทั่วไปเป็นผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์สำหรับงานด้านเอกสาร รายงาน งานในสำนักงานต่างๆ และเล่นอินเตอร์เน็ตผ่านโปรแกรมสำเร็จรูป เช่น MICROSOFT OFFICE เพื่อจัดทำเอกสาร รายงานเพื่อนำเสนอ หรือาจจะใช้โปรแกรม PHOTOSHOP แต่งภาพเล็กๆน้อยๆเป็นต้น
                ส่วนผู้ใช้มือใหม่เป็นผู้ที่ยังไม่เคยสัมผัสคอมพิวเตอร์มาก่อน แนะนำให้ซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์แบบมียี่ห้อจะดีกว่า เพราะ จะได้ไม่ต้องกังวลเวลาที่เครื่องมีปัญหา ผู้ใช้ระดับนี้มักยังใช้งานแบบลองผิดลองถูกอยู่บ้าง อาจทำให้เครื่องเกิดปัญหาได้บ่อยครั้ง จึงไม่จำเป็นต้องเลือกเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีราคาแพง
)ระดับผู้ใช้งานด้านกราฟิก (GRAPHIC USER) งานด้านกราฟิก ตัวอย่างเช่น งานด้านการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อโฆษณาจะต้องใช้ฮาร์ดแวร์และโปรแกรมต่างๆ ที่มีคุณลักษณะของเครื่องคอมพิวเตอร์สูงพอสมควร บางครั้งอาจจะต้องใช้โปรแกรมพร้อมกันหลายๆตัว เช่น โปรแกรม PHOTOSHOP, IIIUSTRATOR, CORELDRAW, PAGEMAKER เป็นต้น ซึ่งราคาคอมพิวเตอร์จัดอยู่ในระดับปานกลางถึงสูง ผู้ใช้ระดับนี้จึงควรจะประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้เอง เพราะจะทำให้ได้รับความรู้มากขึ้น สามารถกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของเครื่องได้ตามลักษณะเฉพาะของงานด้านกราฟิก และทำให้ใช้งานโปรแกรมต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ
)ระดับผู้ใช้งานด้านกราฟิกขั้นสูง (ADVANCED GRAPHIC USER) ซึ่งต้องแสดงผลงานในรูปแบบสามมิติ หรือ 3D ANIMATION ผู้ใช้ระดับนี้จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงมากในระดับการคำนวณระดับสูง เช่น การสร้างภาพในรูปแบบสามมิติ โดยใช้โปรแกรม AUTO CAD, 3D STUDIO MAX และ MAYA เป็นต้น จึงควรจะเลือกประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้เองเช่นกัน ทั้งนี้เพื่อให้สามารถกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้
ระดับผู้เล่นเกม (GAMMER USER) ในปัจจุบันมีผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์สำหรับเล่นเกม ซึ่งดูเหมือนจะเป็นเรื่องฟุ่มเฟือย ที่จะต้องใช้เงินจำนวนมากซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถรองรับเกมที่มีภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว และภาพสามมิติ แต่ในปัจจุบันราคาของอุปกรณ์ต่างๆไม่สูงมากจนเกินไป ดังนั้นการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้เอง จะเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ที่ชื่นชอบการเล่นเกมเป็นชีวิตจิตใจ แต่สำหรับเด็กและเยาวชนที่อยู่ในวัยเรียน และยังไม่มีรายได้เป็นของตนเอง เพราะนอกจากจะทำให้เสียการเรียนแล้วยังสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองอีกด้วย
.๒ วิธีการกำหนดคุณลักษณะคอมพิวเตอร์
                เมื่อทราบระดับการใช้งานคอมพิวเตอร์แล้วว่าเป็นผู้ใช้งานในระดับใด ต่อไปเป็นการกำหนดคุณลักษณะเครื่องคอมพิวเตอร์ที่รองรับการทำงานในแต่ละระดับนั้น ในที่นี้จะกล่าวถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PERSONAL COMPUTER :PC) ซึ่งแต่ละระดับจะมีรายละเอียดเกี่ยวกับคุณลักษณะของคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมกับผู้ใช้งานแตกต่างกันไป โดยมีวิธีการกำหนดคุณลักษณะเครื่องคอมพิวเตอร์ ดังต่อไปนี้
๑)สำหรับการใช้งานที่เน้นการทำงานพื้นฐานทั่วไป ส่วนมากจะใช้งานเพื่อสร้างเอกสาร รายงาน งานในสำนักงานต่างๆ รวมถึงการเล่นอินเทอร์เน็ต ซึ่งไม่เน้นความเร็วและเทคโนโลยีที่สูงนัก สำหรับผู้ใช้ระดับนี้ควรเลือกซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์โดยไม่ต้องเน้นคุณลักษณะของเครื่องสูง มีราคาย่อมเยาว์ คุณลักษณะคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสม มีดังนี้
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
คุณลักษณะที่เหมาะสมและรายละเอียดที่แนะนำ
ซีพียู
รุ่น INTEL CELERON D, PENTIUM 4, PENTIUM D หรือ AMD SEMPRON, AMD ATHLON 64X2
แรม
ประเภท DDR2-SDRAM ขนาด 512 MB ขึ้นไป
เมนบอร์ด
เลือกประเภทที่มีชิปแสดงผล ชิปเสียง และชิปเน็ตเวิร์กมาด้วย เพื่อไม่ต้องซื้อการ์ดมาติดตั้งเพิ่มอีก เนื่องจากติดตั้งมาพร้อมกับเมนบอร์ดแล้ว และเป็นการลดราคาเครื่องโดยรวมลงมาด้วย
ฮาร์ดดิสก์
อินเทอร์เฟส SERIAL ATA ขนาดความจุ 160 GB เป็นต้นไป ซึ่งเพียงพอสำหรับการใช้งานในระดับพื้นฐาน
การ์ดจอ/การ์ดแสดงผล
ใช้เป็นแบบ ON BOARD
การ์ดเสียง
ใช้เป็นแบบ ON BOARD
การ์ดเครือข่าย/การ์ดแลน
ใช้เป็นแบบ ON BOARD ที่สนับสนุนอัตราความเร็วคงที่ ใช้เป็นแบบ10/100 MBPS หรืออาจสูงถึง 1 GBPS ก็ได้ถ้ามีเครือข่ายรองรับ
OPTICAL STORAGE
ไดว์ฟ DVD-RW ซึ่งสามารถอ่านและเขียนแผ่นได้เกือบทุกประเภท
เครื่องสำรองไฟฟ้า
ควรสำรองไฟฟ้าได้ตั้งแต่ ๕๐๐โวลต์แอมป์ (VA) ขึ้นไป (สำหรับตัวเครื่อง จอภาพ และอุปกรณ์อื่นๆที่กินไฟ โดยรวมแล้วไม่เกิน ๓๐๐ วัตต์)
สำหรับอุปกรณ์อื่นๆ เช่น จอแสดงผล ควรเลือกแบบซีอาร์ที ขนาด ๑๗ นิ้ว ไดรฟ์ซีดี ดีวีดี โมเด็ม ลำโพง และอื่นๆ เลือกรุ่นที่สามารถใช้งานได้ในราคาปานกลางก็เพียงพอ
๒)สำหรับการใช้งานด้านกราฟิก สำหรับผู้ใช้ที่ชอบติดตามเทคโนโลยีใหม่ๆ มีการใช้งานหลากหลาย เช่น การออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ ตกแต่งภาพ งานกราฟิก งานเขียน โปรแกรม เล่นเกม ดูหนัง ฟังเพลง เป็นต้น โดยอาจมีการลงซอฟต์แวร์ใหม่ๆ เพื่อทดลองใช้งาน  อีกทั้งยังเหมาะกับกลุ่มผู้ใช้ที่ต้องการความคล่องตัวในการทำงาน จึงต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพค่อนข้างสูง และเป็นเครื่องที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างรวดเร็วทันใจ ไม่ช้าเกินไป และสามารถใช้งานโปรแกรมต่างๆได้หลากหลาย ซึ่งคุณลักษณะคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมมีดังนี้
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
คุณลักษณะที่เหมาะสมและรายละเอียดที่แนะนำ
ซีพียู
รุ่น INTEL CORE 2 DUO หรือ AMD ATHLON 64X2
แรม
ชนิด DDR2-SDRAM ขนาด 1 GB ขึ้นไป
เมนบอร์ด
มีสล็อต PCL EXPRESS X16 ส่วนอุปกรณ์อื่นๆอาจเลือกแบบ ON BOARD เช่น ชิปเสียง ชิปเน็ตเวิร์ก เป็นต้น
ฮาร์ดดิสก์
อินเทอร์เฟส SERIAL ATA-II ขนาดความจุ 250 GB ขึ้นไป
การ์ดจอ/การ์ดแสดงผล
ควรเลือกการ์ดแสดงผลมาตรฐาน PCL EXPRESS X16 ที่มีคุณภาพแสดงผลค่อนข้างสูง และขนาดหน่วยความจำบนการ์ด 256 MB ขึ้นไป โดยเลือกชิปแสดงผลเป็น NVIDIA GEFORCE FX 6800 ขึ้นไป หรือ ATI RADEON X1300 ขึ้นไป
การ์ดเสียง
ใช้เป็นแบบ ON BOARD
การ์ดเครือข่าย/การ์ดแลน
ใช้เป็นแบบ ON BOARD ที่สนับสนุนอัตราความเร็วคงที่ ใช้เป็นแบบ10/100 MBPS หรืออาจสูงถึง 1 GBPS ก็ได้ถ้ามีเครือข่ายรองรับ
OPTICAL STORAGE
ไดว์ฟ DVD-RW ซึ่งสามารถอ่านและเขียนแผ่นได้เกือบทุกประเภท
จอแสดงผล
ขนาดจอภาพแสดงผลควรเลือกขนาด ๑๙ นิ้ว
เครื่องสำรองไฟฟ้า
ควรสำรองไฟฟ้าได้ตั้งแต่ ๕๐๐โวลต์แอมป์ (VA) ขึ้นไป (สำหรับตัวเครื่อง จอภาพ และอุปกรณ์อื่นๆที่กินไฟ โดยรวมแล้วไม่เกิน ๓๐๐ วัตต์)
สำหรับลำโพง หูฟัง เครื่องพิมพ์ เครื่องสแกนเนอร์ เครื่องสำรองไฟ และอุปกรณ์อื่นๆ เพิ่มเติม สามารถเลือซื้อได้ตามความต้องการ และหากต้องการเก็บข้อมูลปริมาณมาก อาจจะเลือกบลูเรย์ดิสแทนดีวีดีก็ได้
สำหรับการใช้งานกราฟิกขั้นสูง สำหรับผู้ใช้งานโปรแกรมต่างๆโดยเฉพาะงานที่ต้องแสดงผลในรูปแบบสามมิติ รวมถึงการเล่นเกมสามมิติ ต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง จึงจำเป็นต้องใช้เครื่องที่มีคุณลักษณะสูงเช่นเดียวกัน ซึ่งคุณลักษณะคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมเป็นดังนี้
หากใช้งานด้านตัดต่อภาพยนตร์ อาจเพิ่มแรมเป็น 4 GB ฮาร์ดดิสก์ SERIAL ATA-II และขนาด 600 GB ขึ้นไป การ์ดจอประสิทธิภาพสูง ตัวอย่างเช่น VIDIA QUADRO การ์ดเสียงและลำโพงคุณภาพสูงแบบ SURROUND และอาจเลือกใช้บลูเรย์ดิสแทนดีวีดีก็ได้
สำหรับเล่นเกมคอมพิวเตอร์ ผู้ที่ต้องการเล่นเกมได้อย่างเต็มอรรถรสและไม่ติดขัด ต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีคุณภาพ ความจุ และมาตรฐานต่างๆอย่างไร ก็ตามการเล่นเกมมากเกินไปจะทำให้เสียเวลาและเสียโอกาสที่จะทำประโยชน์อย่างอื่นมากมายทั้งต่อตนเองและสังคม ดังนั้น จึงควรรู้จักบริหารเวลาให้เหมาะสม ไม่ควรเล่นเกมมากจนกลายเป็นคนติดเกม ซึ่งคุณลักษณะคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมสำหรับใช้เล่นเกม มีดังนี้
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
คุณลักษณะที่เหมาะสมและรายละเอียดที่แนะนำ
ซีพียู
รุ่น INTEL CORE 2 DUO , INTEL CORE 2 QUAD หรือ AMD ATHLON 64X2
แรม
ชนิด DDR2-SDRAM ขนาด 4 GB ขึ้นไป หรือใช้ขนาด 2 GB จำนวน  ๒ แถว เสียบลงในสล็อตแบบ DUAL-CHANNEL
เมนบอร์ด
รองรับเทคโนโลยี DUAL-CHANNEL ที่ช่วยเพิ่มแบนด์วิธของแรม และเทคโนโลยี RAID มีสล็อต PCL EXPRESS X16 จำนวน ๑-๒ ช่อง เพื่อรองรับการทำ SLI หรือ CROSSFIRE
ฮาร์ดดิสก์
อินเทอร์เฟส SERIAL ATA-II ขนาดความจุ 320 GB ขึ้นไป
การ์ดจอ/การ์ดแสดงผล
ควรเลือกการ์ดแสดงผลมาตรฐาน PCL EXPRESS  ที่มีขนาดหน่วยความจำบนการ์ด 512 MB ขึ้นไป ชิปแสดงผลที่ใช้ควรเลือก NVIDIA GEFORCE FX 8800 ขึ้นไป หรือ ATI RADEON HD1300 ขึ้นไป อาจพิจารณาการทำ SLIหรือ CROSSFIRE ด้วย
การ์ดเสียง
ใช้การ์ดเสียงคุณภาพดีแบบ MULTI-CHANNEL
การ์ดเครือข่าย/การ์ดแลน
ใช้เป็นแบบ ON BOARD ที่สนับสนุนอัตราความเร็วคงที่ 10/100 MBPSหรืออาจสูงถึง 1 GBPS ก็ได้
OPTICAL STORAGE
ไดว์ฟ DVD-RW ซึ่งสามารถอ่านและเขียนแผ่นได้เกือบทุกประเภท
จอแสดงผล
ขนาดของจอภาพแสดงผลควรเลือกขนาด ๒๒ นิ้ว ขึ้นไป
เครื่องสำรองไฟฟ้า
ควรสำรองไฟฟ้าได้ตั้งแต่ ๕๐๐โวลต์แอมป์ (VA) ขึ้นไป

การสำรวจราคา
เมื่อผู้ใช้กำหนดคุณลักษณะของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ตรงตามความต้องการแล้ว ผู้ใช้สามารถหาข้อมูลเกี่ยวกับราคาของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้จากร้านขายเครื่องคอมพิวเตอร์หรือศูนย์คอมพิวเตอร์ต่างๆ แล้วนำราคาแต่ละแหล่งมาเปรียบเทียบ เพื่อให้ราคาที่เหมาะสมและคุ้มค่ามากที่สุด รวมทั้งตรงกับคุณลักษณะของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการอีกด้วย
การสำรวจบริการหลังการขาย
โดยดูระยะเวลารับประกันของอุปกรณ์ต่างๆ และการให้บริการหลังการขาย เช่น หากเครื่องคอมพิวเตอร์มีปัญหา ผู้ใช้สามารถติดต่อศูนย์บริการนี้ได้อย่างสะกวดและรวดเร็ว โดยต้องมีผู้ให้คำแนะนำและสามารถติดต่อได้ตลอดเวลา เพื่อแก้ปัญหาการใช้งานเบื้องต้นได้ รวมทั้งยังสามารถบริการไปซ่อมที่บ้าน (ON-SITE MAINTENANCE) ของลูกค้าได้อีกด้วย
การตรวจสภาพอุปกรณ์ก่อนอกจากร้าน
เมื่อได้เครื่องคอมพิวเตอร์ตามที่ต้องการให้เหมาะสมกับประสิทธิภาพและการใช้งานเรียบร้อยแล้ว ก่อนที่จะออกจากร้านก็ต้องตรวจสอบอุปกรณ์ทุกชิ้นว่าอยู่ในสภาพดี ไม่มีรอยขีดข่วนหรือมีตำหนิ มีใบเสร็จรับเงินและใบเสร็จรับประกันอย่างครบถ้วน หากมีปัญหาอะไรสามารถกลับมาที่ศูนย์บริการหรือศูนย์ซ่อมอุปกรณ์ต่างๆได้

การบำรุงรักษาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เบื้องต้น


1.ทำความสะอาดคอมพิวเตอร์บ้าง : วิธีการทำความสะอาดคอมพิวเตอร์นั้นไม่ยากอย่างที่เราคิด แต่ก็ต้องทำให้ถูกหลักด้วย เริ่มจากการถอดปลั๊กไฟก่อน และทำความสะอาดโดยใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำเปล่า หรือน้ำยาทำความสะอาดคอมพิวเตอร์ เช็ดส่วนต่างๆที่เป็นตัวเครื่องหรือกรอบหน้าจอ เมาส์ คีย์บอร์ด รวมถึงสายไฟคอมพิวเตอร์
2.เป่าฝุ่นหรือกำจัดฝุ่นที่อยู่บนตัวเครื่อง : สำหรับวิธีนี้แนะนำให้ใช้แปลงทาสีที่มีขนอ่อนๆ อาจจะเป็นแปรงด้ามไม้ไผ่หาซื้อได้ตามร้านวัสดุก่อสร้าง เพราะหน้าจอหรือตัวเครื่องบางรุ่น หากใช้แปรงที่มีขนหนาอาจทำให้เป็นรอยได้ ควรใส่ผ้าปิดจมูกก่อนทำความสะอาด ถ้ามีเครื่องเป่าฝุ่นหรือเป่าลม สามารถเป่าเครื่องได้เพื่อไล่ฝุ่นออกจากคอมพิวเตอร์
3.ตรวจเช็คความเรียบร้อยภายในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ : วิธีนี้อาจยุ่งยากหน่อยสำหรับผู้ที่ไม่ถนัดในด้านการช่าง เพราะต้องทำการเปิดฝาเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยจะต้องไขน็อตที่ล็อกฝาข้างอยู่ ควรตรวจเช็คพัดลมระบายความร้อนและสายไฟที่อยู่ภายในว่ายังอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดีอยู่หรือเปล่าเพราะความร้อนก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้คอมพิวเตอร์เสียได้เพราะอุปกรณ์สึกหรอ
4.จัดวางคอมพิวเตอร์ให้ถูกหลัก : สำหรับผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ การจัดวางหน้าจอคอมพิวเตอร์ควรวางให้ห่างจากกำแพง หรือมีช่องว่างด้านหลังจอประมาณ ไม้บรรทัด เพราะความร้อนที่กระจายออกมาจะได้มีการระบายที่โล่งและไม่เกิดอุณหภูมิสูง รวมถึงตัวเคสคอมพิวเตอร์ก็ควรตั้งในที่มีช่องระบายความร้อนให้ลมสามารถพัดเข้า-ออกได้  ผู้ที่ใช้โน้ตบุ้คก็เช่นเดียวกัน ควรยกระดับด้านล่างของโน้ตบุ้คให้มีช่องว่างระบายอากาศด้านล่างด้วย เนื่องจากโน้ตบุ้คจะมีความร้อนที่สูงกว่าคอมพิวเตอร์ทั่วไป แนะนำให้หาพัดลมตัวเล็กๆ หรือพัดลมตั้งพื้นเป่า
5.เข้าศูนย์หรือร้านซ่อมคอมใกล้บ้าน : วิธีนี้สำหรับคนที่ไม่สะดวกในการจัดการคอมพิวเตอร์ก็ต้องฝากให้เป็นงานของช่างคอมพิวเตอร์ช่วยตรวจสอบกันว่าอุปกรณ์ต่างๆยังอยู่ในสภาพดีไหม ก่อนตรวจเช็คสอบถามราคาในการดำเนินการก่อน
6.จัดการไฟล์ที่ไม่ได้ใช้แล้วหรือไม่สำคัญ : ไฟล์ต่างๆที่เราดาวน์โหลดมาหรือเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์หากไม่ได้ใช้งานแล้ว หรือไม่สำคัญก็ควรลบทิ้งจากเครื่องคอมพิวเตอร์ เพราะจะทำให้ไม่หนักเครื่องในส่วนของหน่วยความจำ จะได้พร้อมและมีทีว่างรับข้อมูลใหม่
7.จัดระเบียบโฟลเดอร์ต่างๆ : ในส่วนนี้จะช่วยประหยัดทั้งเวลาและช่วยในเรื่องการทำงานของเราได้ เพราะหากเราจัดการไฟล์และโฟลเดอร์ต่างๆให้เป็นระเบียบเรียบร้อย เวลาที่หาไฟล์ต่างๆก็จะสะดวกมากขึ้น เครื่องก็จะทำงานไม่หนัก
8.กำจัดและสแกนไวรัสในคอมพิวเตอร์ : วิธีนี้อาจต้องใช้เวลาหน่อย เพราะแน่นอนว่าสำหรับคนที่ใช้คอมพิวเตอร์มานานข้อมูลต่างๆรูปภาพไฟล์เพลง งานต่างๆมากมายที่อยู่ในเครื่องมาจากหลากหลายที่ ทำให้มีไวรัสแฝงตัวอยู่ในโฟลเดอร์ต่างทั้งที่เราไม่รู้บ้าง ยิ่งข้อมูลมากยิ่งใช้เวลาสแกนนานมากขึ้น ลองหาโปรแกรมสแกนไวรัสสักตัวอย่างเช่นNOD32 เพื่อให้การใช้งานคอมพิวเตอร์ไม่มีปัญหา
9.ลบโปรแกรมที่ไม่ได้ใช้งานทิ้ง : หากเรารู้ว่าโปรแกรมไหนที่เราไม่ได้ใช้งานแล้ว หรือเกมส์ต่างๆที่เราลงไว้ในคอมพิวเตอร์ไม่ได้เล่นเราควรจะลบออก เช่นเดียวกับโฟลเดอร์และไฟล์ เพราะจะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราไม่ทำงานหนักที่ต้องเตรียมโปรแกรมต่างๆคอยเสิร์ฟเวลาที่เราจะใช้งาน
10.หมั่นหาวิธีหรือการใช้งานที่ถูกต้อง : จริงๆแล้ววิธีนี้ก็คือการใช้งานคอมพิวเตอร์ให้ถูกต้องตามพื้นฐาน เพราะถ้าเราไม่รู้หลักในการใช้งานแล้ว ตั้งแต่ข้อ จนถึง ที่กล่าวมาก็อาจทำให้เราละเลยในการดูแลรักษาคอมพิวเตอร์จากการใช้งานที่ไม่ถูกต้องได้ เพียงแค่เราคอยเอาใจใส่ทั้งตัวเราและคอมพิวเตอร์ ต้องเริ่มจากตัวเราก่อน เพราะถ้าเราไม่ดูแลสุขภาพตัวเราก่อน เวลาที่เราจะดูแลคอมพิวเตอร์ก็จะมีน้อยลง

วันพุธที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2556

องค์ประกอบของระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์มีอะไรบ้าง

        ระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก 6 ส่วน คือ



(1)  ฮาร์ดแวร์ (Hardware)  หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง เช่นแป้นพิมพ์ เมาส์ หน่วยประมวลผลกลาง จอภาพ เครื่องพิมพ์ และอุปกรณ์อื่น ๆ ฮาร์ดแวร์จะทำงานตามโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้น


(2) ซอฟต์แวร์ (Software) บางครั้งเรียกว่าโปรแกรม หรือชุดคำสั่งวัตถุประสงค์หลักของซอฟต์แวร์ที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน คือการประมวลผลข้อมูล (Data) ให้เป็นสารสนเทศ (Information)


(3) ข้อมูลหรือข้อสารสนเทศ (Dataหรือ Information)ในการประมวลผลข้อมูล คอมพิวเตอร์จะประมวลผลตามข้อมูลหรือข้อสนเทศที่ป้อนเข้าสู่หน่วยรับข้อมูล ดังนั้นข้อมูลจึงเป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในการประมวลผลเพื่อให้ได้สารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ
ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงที่ได้จากการรวบรวม ซึ่งอาจจะเป็นตัวเลข ข้อความ รูปภาพ หรือเสียง เพื่อให้ระบบคอมพิวเตอร์ทำการประมวลให้ได้สารสนเทศ
สารสนเทศ หมายถึง สิ่งที่ได้จากการประมวลผลแล้ว ซึ่งในในบางครั้งสารสนเทศอาจจะเป็นข้อมูลเพื่อการประมวลผลให้ได้ข้อสนเทศอีกอย่างหนึ่งก็ได้ เช่น คะแนนสอบของนักศึกษาเป็นข้อมูล เมื่อผ่านการตัดเกรด จะได้เกรดเป็นสารสนเทศ และเมื่อนำเกรดนักศึกษาไปคำนวณหาค่าเฉลี่ย เกรดของนักศึกษาจะเป็นข้อมูล และสารสนเทศที่ได้คือเกรดเฉลี่ย (GPA)


(4) ผู้ใช้ (User) การทำงานของคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องให้ผู้ใช้สั่งงาน


(5) กระบวนการทำงาน (Procedure) เป็นขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ได้ผลลัพธ์หรือข้อสนเทศจากคอมพิวเตอร์ ในการทำงานกัวบคอมพิวเตอร์จำเป็นที่ผู้ใช้จะต้องเข้าใจขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ได้งานที่ถูกต้องและมีประสิทธภาพ


(6) บุคลากรทางสารสนเทศ (Information systems personnel) เป็นส่วนที่สำคัญของระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ เพื่อจัดการให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนทำงานร่วมกับผู้ใช้ อย่างใกล้ชิด

ขอขอบคุณข้อมูลจาก :: http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=62e115550716062b